ตากใบ (เจ๊ะเห)

ตากใบ (เจ๊ะเห)

ภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) เป็นภาษาตระกูลไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ กระจายตัวอยู่ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และพื้นที่บางส่วนในประเทศมาเลเซีย เป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการมาจากภาษาสุโขทัยโดยตรงเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1300
จัดทำโดย: 
ภีมระพัฒต์ รองสวัสดิ์

ภาษาตากใบ (เจ๊ะเห)

ภาษาตากใบหรือภาษาเจ๊ะเหมักสร้างความแปลกใจให้กับผู้พูดภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไปเมื่อได้ฟัง ด้วยความแตกต่างอย่างชัดเจนทั้งในด้านคำศัพท์และวรรณยุกต์เมื่อเปรียบเทียบกับภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไป ทฤษฎีที่มีการพูดถึงมากที่สุด คือ ภาษาตากใบเป็นภาษาที่มีวิวัฒนาการมาจากภาษาสุโขทัยโดยตรงเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1300 (Brown, 1965) ยังมีการศึกษาพบว่า ภาษาตากใบมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทลื้อในด้านคำศัพท์ (Wichit Srisuwitthanon, 1985) และในส่วนการศึกษาวรรณยุกต์พบว่าคล้ายคลึงกับภาษาผู้ไทมากที่สุด (Puttachart Potibal & Thananan Trongdee, 1998) ทำให้ประเด็นด้านประวัติศาสตร์ในเรื่องการอพยบย้ายถิ่นของผู้พูดภาษาตากใบในอดีตจากตอนเหนือของประเทศไทยมายังแหลมมาลายูเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมาก แต่ในปัจจุบันสถานะของภาษาตากใบในสาขาย่อยของภาษาตระกูลไทยังไม่ชัดเจนมากนัก ภาษาตากใบถูกแวดล้อมด้วยภาษามลายูปาตานีมาตั้งแต่อดีต ทำให้ภาษาตากใบยังคงรักษาลักษณะดั้งเดิมทางภาษาไว้ได้ แต่ในปัจจุบันผู้พูดรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะพูดภาษานี้ลดน้อยลง

ในปัจจุบันผู้พูดภาษาตากใบมีจำนวนประมาณ 60,000-70,000 คน กระจายตัวอยู่ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และพื้นที่บางส่วนในประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบกลุ่มภาษานี้ในจังหวัดนครศรีธรรมราชบางส่วน (Suwilai Premsrirat et al.,  2001) จากการศึกษาสถานการณ์การใช้ภาษาในปัจจุบันพบว่า แม้ว่าภาษานี้ยังมีความแข็งแรงและพูดกันอย่างแพร่หลาย แต่อย่างไรก็ตามกลับพบว่าผู้พูดรุ่นใหม่มีแนวโน้มที่จะใช้ภาษาถิ่นของตนลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ ในอนาคตอันใกล้ (Pasteera Chalongdet, 2016) เพราะฉะนั้นแล้วการศึกษาและบันทึกภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มภาษาตากใบจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อที่จะธำรงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม (cultural heritage) และเพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ภาษาตากใบในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติซึ่งได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556

อ้างอิง

Brown, J. Marwin. (1965). From ancient Thai to modern dialects. From Ancient Thai to Modern Dialects and Other Writings on Historical Thai Linguistics. Bangkok: White Lotus.
Chalongdet, P. (2016). Situation and attitude towards the Tak Bai language spoken in Tak Bai district, Narathiwas province. Doctoral dissertation, Thammasat University.
Premsrirat, S., et al. (2001). Ethnolinguistic maps of Thailand. Ministry of Culture and Mahidol University.
Srisuwitthanon, W. (1985). Classification by vocabularies: The Tai Tak Bai language group. M.A. thesis, Mahidol University.

หัวข้อ: 
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
สื่อการสอน, เรื่องเล่า
สรุป
นิทานเรื่องฆ้องพระอินทร์ เป็นนิทานพื้นบ้านภาษาตากใบที่เล่าถึงเพื่อนรักสองตัวคือ เสือกับกระต่าย เมื่อวันหนึ่งกระต่ายชวนให้เสือไปตีฆ้องซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ได้เข้าเฝ้าพระอินทร์บนสวรรค์
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
สื่อการสอน, เรื่องเล่า
สรุป
นิทานเรื่องข้าวเปียกพระอินทร์ เป็นนิทานพื้นบ้านภาษาตากใบที่เล่าถึงเพื่อนรักสองตัวคือ เสือกับกระต่าย เมื่อวันหนึ่งกระต่ายชวนให้เสือไปกินขนมหวานพื้นบ้านชนิดหนึ่งชื่อ "ข้าวเปียก" ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ได้เข้าเฝ้าพระอินทร์บนสวรรค์
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำศัพท์ภาษาตากใบ เสียง /ก/ : Tak Bai Vocabularies of /k/
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำศัพท์ภาษาตากใบ เสียง /ค/, /ง/, /จ/, /ช/ และ /ซ/ : Tak Bai Vocabularies of /kʰ/, /ŋ/, /c/, /cʰ/, and /s/
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำศัพท์ภาษาตากใบ เสียง /ญ/, /ด/, /ต/, /น/, /บ/, และ /ป/, : Tak Bai Vocabularies of /ɲ/, /d/, /t/, /n/, /b/ and /p/
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำศัพท์ภาษาตากใบ เสียง /พ/, /ม/, /ย/, /ร/ และ /ล/ : Tak Bai Vocabularies of /pʰ/, /m/, /j/, /r/, and /l/
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำศัพท์ภาษาตากใบ เสียง /ล/, /ว/, /อ/ และ /ฮ/ : Tak Bai Vocabularies of /l/, /w/, /ʔ/, and /h/
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำเรียกญาติในภาษาตากใบมีคำที่หลากหลายในการเรียกญาติผู้ใหญ่โดยการแบ่งตามเพศและอายุ นอกจากนี้แม้ว่าบุคคลที่เรียกจะไม่ใช่พ่อหรือแม่ของผู้พูด แต่หากเรียกญาติผู้ใหญ่แล้ว มักจะมีคำว่า 'พฺอ' (พ่อ) และ 'แมฺ' (แม่) เป็นคำประกอบในคำเรียกญาตินั้น ๆ ด้วย
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
'ปึย๋าม' แปลว่า 'ฤดู' และสามารถแปลว่า 'เวลา' ได้อีกด้วย โดยฤดูกาลในภาษาตากใบมี 2 ฤดู คือ 'ปึย๋ามพฺะ' (ฤดูฝน) และ 'ปึย๋ามแล้ง' (ฤดูแล้ง)
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำศัพท์การนับวันในภาษาตากใบมี ๗ คำ โดยมีลำดับตามช่วงเวลา คือ แรฺกก่อนวา, แรฺกวา, วันนีฺ, โพรฺกเช้า, บฺึรือ, บฺึเลื่อง, และ บฺึไล
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำเรียกทิศและทิศทางภาษาตากใบมี ๔ คำคือ 'ฮั๋วนอน' (หัวนอน) หรือทิศใต้, 'ใต้ตี๋น' (ใต้ตีน) หรือทิศเหนือ, 'กึ๊อ่อก' หรือตะวันออก และ 'กึ๊ต๋อก' หรือตะวันตก โดยเวลาเข้านอนทิศจะมีความสำคัญมาก โดยห้ามหันศีรษะไปทาง 'กึ๊ต๋อก' ซึ่งเป็นทิศของคนตาย
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
พจนศิลป์
สรุป
'ชาแด๋ก' (กล่อมเด็ก) และ 'เวเปล๋' (ไกวเปล) เป็นกิจกรรมยามบ่ายในบ้านที่มีเด็กเล็ก หลังจากการทำนาทำสวน หากบ้านหลังใดมีลูกหลายคน ผู้หญิงในบ้านนั้นก็มักจะชาแด๋กได้หลายเพลง ตั้งแต่อดีตมาไม่เคยมีการจดบันทึก ทำให้เพลงชาแด๋กภาษาตากใบหาฟังได้ยากแล้วในปัจจุบัน
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
พจนศิลป์
สรุป
'ชาแด๋ก' (กล่อมเด็ก) และ 'เวเปล๋' (ไกวเปล) เป็นกิจกรรมยามบ่ายในบ้านที่มีเด็กเล็ก หลังจากการทำนาทำสวน หากบ้านหลังใดมีลูกหลายคน ผู้หญิงในบ้านนั้นก็มักจะชาแด๋กได้หลายเพลง ตั้งแต่อดีตมาไม่เคยมีการจดบันทึก ทำให้เพลงชาแด๋กภาษาตากใบหาฟังได้ยากแล้วในปัจจุบัน
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
พจนศิลป์
สรุป
'ชาแด๋ก' (กล่อมเด็ก) และ 'เวเปล๋' (ไกวเปล) เป็นกิจกรรมยามบ่ายในบ้านที่มีเด็กเล็ก หลังจากการทำนาทำสวน หากบ้านหลังใดมีลูกหลายคน ผู้หญิงในบ้านนั้นก็มักจะชาแด๋กได้หลายเพลง ตั้งแต่อดีตมาไม่เคยมีการจดบันทึก ทำให้เพลงชาแด๋กภาษาตากใบหาฟังได้ยากแล้วในปัจจุบัน
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
พจนศิลป์
สรุป
'ชาแด๋ก' (กล่อมเด็ก) และ 'เวเปล๋' (ไกวเปล) เป็นกิจกรรมยามบ่ายในบ้านที่มีเด็กเล็ก หลังจากการทำนาทำสวน หากบ้านหลังใดมีลูกหลายคน ผู้หญิงในบ้านนั้นก็มักจะชาแด๋กได้หลายเพลง ตั้งแต่อดีตมาไม่เคยมีการจดบันทึก ทำให้เพลงชาแด๋กภาษาตากใบหาฟังได้ยากแล้วในปัจจุบัน
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
พจนศิลป์
สรุป
'ชาแด๋ก' (กล่อมเด็ก) และ 'เวเปล๋' (ไกวเปล) เป็นกิจกรรมยามบ่ายในบ้านที่มีเด็กเล็ก หลังจากการทำนาทำสวน หากบ้านหลังใดมีลูกหลายคน ผู้หญิงในบ้านนั้นก็มักจะชาแด๋กได้หลายเพลง ตั้งแต่อดีตมาไม่เคยมีการจดบันทึก ทำให้เพลงชาแด๋กภาษาตากใบหาฟังได้ยากแล้วในปัจจุบัน
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
ขั้นตอน
สรุป
'ปี๋นั๋งก๋อแต๋' คือขนมพื้นบ้านของชุมชนภาษาตากใบที่สอนวิธีการทำกันมารุ่นสู่รุ่น ขนมชนิดนี้ยังแสดงถึงวัฒนธรรมที่ผสมผสานและแสดงถึงความใกล้ชิดของวัฒนธรรมการปรุงอาหารของคนไทยกลุ่มตากใบกับคนไทยกลุ่มมลายูปาตานีที่มีมาอย่างช้านานในพื้นที่
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
เรื่องเล่า
สรุป
วิดีโอนี้บันทึกการพูดคุยเกี่ยวกับภาษาที่คนรุ่นใหม่พูดในชุมชน พิธีอารธนาฟ้าผ่า การทำสวนไร่นา และอื่น ๆ
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
สื่อการสอน
สรุป
บทสัมภาษณ์ภาษาตากใบชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยด้านการพัฒนาสื่อการสอนเพิ่มเติมในหลักสูตรท้องถิ่นว่าด้วยการอนุรักษ์ภาษาถิ่น ซึ่งโรงเรียนบ้านตอหลังเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาของชุมชนที่นักเรียนส่วนใหญ่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาแม่ทั้งสิ้น
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
ประเพณี, พิธีกรรม, เรื่องเล่า
สรุป
หมอพราหมณ์ประจำหมู่บ้านจะเป็นเหมือนตัวกลางระหว่างชาวบ้านกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และธรรมชาติ โดยชาวตากใบมีพิธีที่เกี่ยวข้องกับการทำนาได้แก่ "พิธีแรกดำนา" "พิธีสวดนา" และ "พิธีลาซัง"
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
การละเล่น
สรุป
ในภาษาเจ๊ะเหหรือภาษาไทสำเนียงตากใบ มีวัฒนธรรมปริศนาคำทายที่ผู้พูดภาษาคิดค้นขึ้นป็นการละเล่นไว้สำหรับคั่นเวลาขณะทำการเกษตรหรืองานพบปะสังสรรค์ ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น การเกษตร วิถีชีวิต และโลกทัศน์ ที่แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ขันของผู้พูดภาษานี้อีกด้วย
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
การละเล่น
สรุป
ในภาษาเจ๊ะเหหรือภาษาไทสำเนียงตากใบ มีวัฒนธรรมปริศนาคำทายที่ผู้พูดภาษาคิดค้นขึ้นป็นการละเล่นไว้สำหรับคั่นเวลาขณะทำการเกษตรหรืองานพบปะสังสรรค์ ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น การเกษตร วิถีชีวิต และโลกทัศน์ ที่แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ขันของผู้พูดภาษานี้อีกด้วย
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
การละเล่น
สรุป
ในภาษาเจ๊ะเหหรือภาษาไทสำเนียงตากใบ มีวัฒนธรรมปริศนาคำทายที่ผู้พูดภาษาคิดค้นขึ้นป็นการละเล่นไว้สำหรับคั่นเวลาขณะทำการเกษตรหรืองานพบปะสังสรรค์ ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น การเกษตร วิถีชีวิต และโลกทัศน์ ที่แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ขันของผู้พูดภาษานี้อีกด้วย
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำศัพท์ภาษาไทสำเนียงตากใบเพิ่มเติมที่ออกเสียงโดยผู้บอกภาษารุ่นใหม่
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
ประเพณี, พิธีกรรม, เรื่องเล่า
สรุป
ในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๕ ชาวบ้านชาวตากใบจะนำอาหารและผลไม้ตามฤดูกาล มาถวายพระและรวมตัวกันกลางลานวัดในตอนกลางคืน เพื่อกราบไว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้คุ้มครองดูแลหมู่บ้าน นับเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทสำเนียงตากใบ
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
ประเพณี, พิธีกรรม, เรื่องเล่า
สรุป
“การชาเริน” หรือการสวดบ้าน เป็นพิธีของชาวตากใบที่จะนิมนต์คณะสงฆ์มาสวดอยู่ในบ้าน และพราหมณ์สวดอยู่บริเวณโรงหมอหน้าบ้าน พิธีนี้จะมีขึ้นหากเมื่อมีการบนบานศาลกล่าวหรือเมื่อเกิดเรื่องเป็นเสนียจขึ้นในบ้าน
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำสรรพนามในภาษาไทสำเนียงตากใบมีการแปรไปตามตัวแปรทางสังคม เช่น เพศ จำนวนคน อายุ ความสนิทสนม และความสุภาพ
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำนำหน้าชื่อในภาษาไทสำเนียงตากใบมีการแปรไปตามตัวแปรทางสังคม เช่น เพศ อายุ สถานะการแต่งงาน และสถานะการบวช นอกจากนี้ในคำนำหน้าเรียกอาชีพบางอาชีพก็มีการยืมคำว่า “โต๊ะ” จากภาษามลายูปาตานีมาปนเป็นคำผสมอีกด้วย
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
ประเพณี, พิธีกรรม, เรื่องเล่า
สรุป
“การชาทฺอง” หรือการสวดทุ่งนา เป็นพิธีของชาวตากใบที่จะนิมนต์คณะสงฆ์และพราหมณ์มาสวดบริเวณศาลากลางทุ่งนาเป็นเวลา ๑ คืนเพื่อปัดเป่าให้เป็นศิริมงคล
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
ประเพณี, พิธีกรรม, เรื่องเล่า
สรุป
พิธีนี้เป็นพิธีพราหมณ์ที่จะมีขึ้นเมื่อไร่สวน เช่น สวนยางพาราโดนฟ้าผ่า หรือ “ต้องอุบาทว์” เพื่อปัดเป่าให้เป็นศิริมงคล
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
เรื่องเล่า
สรุป
พ่อท่านเปาะเลาะคือชาวมาลายูปาตานีที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและเป็นพระรูปสำคัญที่สร้างธรรมนุบำรุงพระพุทธศาสนาในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซียในปัจจุบัน ตำนานของท่านกลายเป็นเรื่องเล่าปากต่อปากและเป็นที่เคารพนับถือของคนไทสำเนียงตากใบ
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
เรื่องเล่า
สรุป
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของคนไทสำเนียงตากใบผูกพันแน่นแฟ้นกับคุ้งน้ำสายสำคัญ โดยการสัญจรทางเรือมีมาช้านานตั้งแต่อดีต มีเรื่องเล่าที่ชาวบ้านพบเจอจระเข้ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพบูชากราบไหว้และบนบานศาลกล่าว บ้างก็ว่าร่างจริงของท่านคือนักบวชในพระพุทธศาสนา
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
เรื่องเล่า
สรุป
พระพุทธรูปองค์เก่าแก่ที่สุดของวัดประจำหมู่บ้านองค์นี้ มีตำนานว่าท่านคือดาวตกที่มาตกอยู่ที่วัดตั้งแต่ครั้งเริ่มก่อสร้างวัด และอยู่คู่กับวัดมานับร้อยปี แสงดาวตกของท่านมีให้เห็นเป็นครั้งคราว ชาวบ้านจะนำท่านออกมาจากโบสถ์และสรงน้ำเฉพาะในวันปีใหม่ไทยเท่านั้น
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
ประเพณี, พิธีกรรม, เรื่องเล่า
สรุป
พิธีไหว้หน้าบ้านจะจัดในเดือน ๙ ในวันที่ไม่ตรงกับวันพระ เป็นพิธีพราหมณ์ที่สักการะท้าวเวสสุวรรณ พิธีจัดบริเวณต้นไม้และศาลประจำหมู่บ้าน เป็นการส่งเคราะห์ร้ายต่าง ๆ ของหมู่บ้านไปกับแพสามชั้นพร้อมเครื่องบูชา โดยจะจบพิธีโดยการลอยแพไปตามแหล่งน้ำ
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
สำนวนในภาษาไทสำเนียงตากใบ มักจะมีการใช้การอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบและการพูดเกินจริง (อติพจน์) เพื่อสื่อความหมายของผู้พูดโดยอ้อม รวมไปถึงมีการใช้สำนวนบางสำนวนในบริบทที่แสดงความไม่พอใจของผู้พูดเท่านั้น
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำที่ใช้บอกความรู้สึกผ่านประสาทสัมผัสในภาษาไทสำเนียงตากใบ อาจมีเพียงความต่างกับภาษาไทยมาตรฐานในด้านวรรณยุกต์เสียง แต่ในระดับย่อยหน่วยคำในการสร้างเป็นวลี คำที่ใช้บอกความรู้สึกเหล่านี้จะมีหน่วยคำที่ประกอบลงท้ายคู่กับคำนั้น ๆ โดยเฉพาะ
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
เรื่องเล่า
สรุป
เนื่องจากภูมิประเทศที่ติดกับทะเลฝั่งอ่าวไทย ทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลบางส่วนได้เทียบเรือที่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และได้มีการแต่งงานกับชาวไทสำเนียงตากใบในอดีต ปัจจุบันชาติพันธุ์ของชาวจีนบรรพบุรุษของครอบครัวนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนนัก
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน
สรุป
ที่โรงเรียนบ้านตอหลัง หมู่ที่ ๓ ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีการจัดทำสื่อคำศัพท์ภาษาตากใบทำมือ และจัดกิจกรรมคำศัพท์ภาษาตากใบวันละคำขึ้น พร้อมกับแต่งประโยค เพื่ออนุรักษ์ภาษาประจำท้องถิ่นหน้าเสาธงเป็นประจำทุกวันก่อนเข้าเรียน
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
สื่อการสอน, เรื่องเล่า
สรุป
นิทานเรื่องกึ๊จ๋ง (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคล้ายกวางขนาดเล็กชนิดหนึ่ง) กั๋บกึ๊จ๋ง (ตะกร้าจักสานพื้นบ้านไม่มีหูหิ้วชนิดหนึ่ง) เป็นนิทานพื้นบ้านภาษาตากใบที่เล่าถึงความเจ้าเล่ห์ของกึ๊จ๋งที่ตั้งใจจะกินกล้วยในกึ๊จ๋งของคุณยายที่เดินผ่านมา