อัญญาณี รองสวัสดิ์

กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำเรียกทิศและทิศทางภาษาตากใบมี ๔ คำคือ 'ฮั๋วนอน' (หัวนอน) หรือทิศใต้, 'ใต้ตี๋น' (ใต้ตีน) หรือทิศเหนือ, 'กึ๊อ่อก' หรือตะวันออก และ 'กึ๊ต๋อก' หรือตะวันตก โดยเวลาเข้านอนทิศจะมีความสำคัญมาก โดยห้ามหันศีรษะไปทาง 'กึ๊ต๋อก' ซึ่งเป็นทิศของคนตาย
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำศัพท์การนับวันในภาษาตากใบมี ๗ คำ โดยมีลำดับตามช่วงเวลา คือ แรฺกก่อนวา, แรฺกวา, วันนีฺ, โพรฺกเช้า, บฺึรือ, บฺึเลื่อง, และ บฺึไล
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
'ปึย๋าม' แปลว่า 'ฤดู' และสามารถแปลว่า 'เวลา' ได้อีกด้วย โดยฤดูกาลในภาษาตากใบมี 2 ฤดู คือ 'ปึย๋ามพฺะ' (ฤดูฝน) และ 'ปึย๋ามแล้ง' (ฤดูแล้ง)
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
คำศัพท์, สื่อการสอน, ระบบเขียน
สรุป
คำเรียกญาติในภาษาตากใบมีคำที่หลากหลายในการเรียกญาติผู้ใหญ่โดยการแบ่งตามเพศและอายุ นอกจากนี้แม้ว่าบุคคลที่เรียกจะไม่ใช่พ่อหรือแม่ของผู้พูด แต่หากเรียกญาติผู้ใหญ่แล้ว มักจะมีคำว่า 'พฺอ' (พ่อ) และ 'แมฺ' (แม่) เป็นคำประกอบในคำเรียกญาตินั้น ๆ ด้วย
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
สื่อการสอน, เรื่องเล่า
สรุป
นิทานเรื่องข้าวเปียกพระอินทร์ เป็นนิทานพื้นบ้านภาษาตากใบที่เล่าถึงเพื่อนรักสองตัวคือ เสือกับกระต่าย เมื่อวันหนึ่งกระต่ายชวนให้เสือไปกินขนมหวานพื้นบ้านชนิดหนึ่งชื่อ "ข้าวเปียก" ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ได้เข้าเฝ้าพระอินทร์บนสวรรค์
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
สื่อการสอน, เรื่องเล่า
สรุป
นิทานเรื่องฆ้องพระอินทร์ เป็นนิทานพื้นบ้านภาษาตากใบที่เล่าถึงเพื่อนรักสองตัวคือ เสือกับกระต่าย เมื่อวันหนึ่งกระต่ายชวนให้เสือไปตีฆ้องซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ได้เข้าเฝ้าพระอินทร์บนสวรรค์
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
สื่อการสอน, เรื่องเล่า
สรุป
นิทานเรื่องกึ๊จ๋ง (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคล้ายกวางขนาดเล็กชนิดหนึ่ง) กั๋บกึ๊จ๋ง (ตะกร้าจักสานพื้นบ้านไม่มีหูหิ้วชนิดหนึ่ง) เป็นนิทานพื้นบ้านภาษาตากใบที่เล่าถึงความเจ้าเล่ห์ของกึ๊จ๋งที่ตั้งใจจะกินกล้วยในกึ๊จ๋งของคุณยายที่เดินผ่านมา