ระบบเขียนภาษามอแกน

สรุป: 
ทีมวิจัยชุมชนชาวมอแกน ร่วมกับนักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ จากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษา - วัฒนธรรมในภาวะวิกฤต มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันจัดทำระบบเขียนภาษามอแกน อักษรไทย เพื่อเป็นเครื่องมือในการบันทึกภาษา
รายละเอียด: 

ทีมวิจัยชาวมอแกน ร่วมกับนักภาษาศาสตร์ และทีมพี่เลี้ยง จากศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษา - วัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมพัฒนาระบบเขียนภาษามอแกน ระหว่างวันที่ 5 - 7 มีนาคม 2557 ที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนมอแกน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อ.คุระบุรี จ.พังงา ทั้งนี้การทำกิจกรรมดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในโครงการ “สร้างเครื่องมือเพื่อบันทึกภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวมอแกน” ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น

จากกิจกรรมดังกล่าว ทำให้ชาวมอแกนได้ระบบเขียนภาษามอแกนอักษรไทย ซึ่งเป็นเครื่องมือในการบันทึกภาษา ซึ่งประกอบไปด้วย พยัญชนะต้น จำนวน 21 ตัว พยัญชนะท้าย 10 ตัว และสระ 20 ตัว ซึ่งทีมวิจัยได้นำไปใช้ในการบันทึกคำศัพท์ นิทาน เรื่องเล่า และความรู้ท้องถิ่นของตนเองต่อไป

Cultural Narrative: 

 

ความรู้ดั้งเดิมเฉพาะกลุ่ม: 

 

ตำแหน่งที่ตั้ง: 
รายละเอียดตำแหน่งที่ตั้ง: 

หมู่บ้านมอแกน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา