ปาเรเร

สรุป: 
การปาเรเร เป็นการร้องเพลงของชาวญัฮกุร บทเพลงและบทกลอนที่ร้องโต้ตอบเป็นการร้องสด
รายละเอียด: 

ขับร้อง: พ่อเณร

คำแปล: พ่อเณร

ช่วงแรก

พี่ขอถามน้องทั้งสองคน จะไปสอนภาษาชาวบนให้ลูกหลานได้มั้ย เพราะตอนนี้เด็กพูดเป็นแค่ภาษาไทย

ถ้าไม่สอนเด็กก็ไม่รู้จัก ไม่จำ พี่ขอให้น้องทั้งสองไปสอนลูกหลานให้รู้จักรู้จำภาษาชาวบนไว้ ภาษาคนบนจะได้ฟื้นฟู ให้เขียนภาษาหนังสือของคนบนเป็น จะได้บันทึกจดจำต่อไปในอนาคต

ช่วงสอง

พี่ขอถามน้องทั้งคู่ว่า กลับไปแล้วจะบอกหลานได้มั้ย ให้ทำหนังสือของชาวบน จะได้มีหนังสือของชาวบนไว้อ่าน จะได้มีภาษาชาวบนไว้สอนเด็กรุ่นหลัง ให้น้องทั้งคู่พากันไปสอนเด็ก ให้มีคนสืบสานภาษาคนบนต่อไปในอนาคต

Cultural Narrative: 

ปาเรเร หรือ “ปา?เรเร” หรือที่เรียกเป็นภาษาไทยว่า “กระแจ๊ะ” เป็นการร้องเพลงของชาวญัฮกุร ที่มีท่วงมีการเอื้อนช้าช้าให้จังหวะพร้อมกลองโทน เพลงที่ร้องจะเป็นบทเพลงและกลอนที่แต่งขึ้นทันที โต้ตอบระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง มีครูเพลงหรือผู้สูงอายุคั่นตรงกลาง นั่งร้องกันเป็นวง เนื้อเพลงจะเป็นการทักทาย ถามสารทุกข์สุขดิบ เล่าถึงความเป็นอยู่ หรือสั่งสอน เป็นต้น การร้อง ปา?เรเร มักร้องในเวลากลางคืน ที่มีงานรื่นเริง ผู้ร่วมฟังก็มักนั่งล้อมกันเป็นวง ในบางครั้งก็ร้องจนถึงวันรุ่งขึ้นของวันใหม่อีกวัน

 

อ้างอิง

อนันต์ ลิมปคุปตถาวร และคณะ. (2549). ญัฮกุร มอญโบราณแห่งเทพสถิต. กรุงเทพฯ: บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์ จำกัด. 

พนม จิตร์จำนงค์ และ ห่าม เศรษฐกุญชร (บรรณาธิการ). (2556). ปา?พั่ก นั่งเดิม คอง ญัฮกุร: ตามรอยภาษา ประเพณี วัฒนธรรมชาวญัฮกุร. กรุงเทพฯ: บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.