กูย

กูย

ภาษากูย เป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก หรือภาษาในตระกูลมอญ - เขมร ชาวกูยแต่ละถิ่นจะมีการใช้สำเนียงภาษาที่แตกต่างกันไป แต่หากใช้ระบบเสียงมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งสามารถแบ่งภาษากูยออกเป็น 2 กลุ่มภาษาใหญ่คือ ภาษากูย (กูย - กูย) และภาษากวย (กูย - กวย)
จัดทำโดย: 
กุมารี ลาภอาภรณ์

กูย

"กูย" มีความหมายว่า "คน" เป็นชื่อชนกลุ่มที่เรียกตนเอง แต่คนภายนอกมักจะเรียกว่า "ส่วย" เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่า ชนกลุ่มนี้ต้องส่งส่วยให้แก่ทางการไทยเป็นประจำ ตั้งแต่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จากการศึกษาประวัติศาสตร์ชาวกูย / กวย มีข้อสันนิษฐานว่าแต่เดิมชาวกูย / กวย อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศลาว และภาคกลาง ภาคเหนือของประเทศกัมพูชา และค่อย ๆ อพยพโยกย้ายเข้ามาในประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ที่ติดต่อกับประเทศลาว โดยอาศัยปะปนกับกลุ่มเขมรถิ่นไทย และกลุ่มไทยถิ่นอีสาน (วรรณา เทียนมี, 2553) 

ภาษากูย เป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลออสโตรเอเชียติก หรือภาษาในตระกูลมอญ - เขมร ชาวกูยแต่ละถิ่นจะมีการใช้สำเนียงภาษาที่แตกต่างกันไป แต่หากใช้ระบบเสียงมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งสามารถแบ่งภาษากูยออกเป็น 2 กลุ่มภาษาใหญ่คือ ภาษากูย (กูย - กูย) และภาษากวย (กูย - กวย)(วรรณา เทียนมี, 2553)

จากการศึกษาวิจัยของนักภาษาศาสตร์พบว่า ชาวกูย / กวย มีจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยประมาณ 400,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด เป็นต้น รวมถึงภาคตะวันออกของประเทศไทยอีกด้วย (สุวิไล เปรมศรีรัตน์และคณะ, 2547) 

dlที่ผ่านมาชาวกูย ในบ้านขี้นาค ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ ได้มีการดำเนินงานวิจัยภายใต้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ประเด็นการฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต ในโครงการ "สร้างเครื่องมือเพื่อบันทึกภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวกูยผ่านการทอผ้าไหม" (สิดาวรรณ ไชยภาและคณะ, 2562)  เนื่องจากยังขาดเครื่องมือในการบันทึกภาษาอย่างเป็นระบบ รวมถึงการศึกษาเรื่องผ้าไหมในเชิงลึก และกระบวนการถ่ายทอดความรู้ทางด้านภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าสู่การฝึกปฏิบัติ

จากการดำเนินงานวิจัยดังกล่าว ทำให้ได้ผลผลิตด้านต่าง ๆ เช่น ได้ระบบเขียนภาษากูยอักษาไทย โดยนำมาใช้บันทึกภาษา คำศัพท์ วรรณกรรมท้องถิ่น รวมทั้งบันทึกองค์ความรู้ท้องถิ่น โดยเฉพาะการบันทึกองค์ความรู้ท้องถิ่นเรื่องการทอผ้าไหมไว้ในหนังสือเรื่อง "กูย ตาญ อึนชิ่ก เทราะ คนาก" (การทอผ้าไหมของชาวกูย บ้านขี้นาค) ผลจากการทำงานวิจัยนี้สามารถทำให้ชาวกูยหันมาสนใจและทอผ้าไหมร่วมกันเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังสามารถตั้งกลุ่มการทอผ้าไหมในหมู่บ้าน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

 

อ้างอิง

วรรณา เทียนมี.(2533). การกระจายของภาษากูยในประเทศไทย.กรุงเทพ ฯ : ภาควิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ .(2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ  ในประเทศไทย.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
สิดาวรรณ ไชยภาและคณะ. (2562). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการ “แนวทางการสร้างเครื่องมือเพื่อบันทึกภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวกูย ผ่านภูมิปัญญาการทอผ้าไหม ชุมชนบ้านขี้นาค ต.ตูม อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ”. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น).

หัวข้อ: 
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
ขั้นตอน
สรุป
ทีมวิจัยชาวกูย ได้บันทึกและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องการทอผ้าไหม ซึ่งเป็นอัตลักษณ์สำคัญของชาวกูย
kuy_cdrel01_0001_1.jpg
กลุ่มผู้มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล
LangArchive-TH
หมวดหมู่
ระบบเขียน
สรุป
ทีมวิจัยชาวกูย ได้จัดทำระบบเขียนภาษากูย อักษรไทย เพื่อเป็นเครื่องมือในการบันทึกภาษา