เรื่องเล่า สุสานแห่งสามกษัตริย์

สรุป: 
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า เป็นเจ้าผู้ครองรัฐ ไม่ควรเอาแต่ใจตัวเอง หรือขาดคุณธรรม มิฉะนั้นจะทำให้ตัวเองและคนอื่นเดือดร้อน จากความอาฆาตแค้น
รายละเอียด: 

ก็อนเจียงม๊กหย่า สองคนสามีภรรยา เป็นคนที่ทำอาชีพตีดาบที่มีชื่อเสียงของรัฐฉู่ ของสมัยชุนชิว ผู้ครองรัฐฉู่ ต้องการดาบที่คมที่สุดมาใช้อันหนึ่ง จึงสั่งให้ก็อนเจียงไปทำ  ก็อนเจียงกับภรรยาก็ใช้เวลา 3 ปีในการทำดาบ 1 คู่ที่มีความคมเท่ากัน แต่เพราะทำงานช้า ผู้ครองรัฐฉู่ก็ไม่พอใจ จึงปล่อยข่าวออกมาว่า จะฆ่าคนตีดาบ ก็อนเจียง ได้ยินข่าวเข้า จึงปรึกษากับภรรยา (ม๊กหย่า) ซึ่งกำลังตั้งครรภ์อยู่ สองสามีภรรยา จึงปรึกษากันว่า จะเอาดาบตัวผู้มอบให้เจ้าผู้ครองรัฐฉู่ ส่วนตัวเมีย ตัวเองนำไปซ่อนไว้ ถ้าหากว่าเราเอาดาบไปถวายแล้ว เจ้าผู้ครองรัฐไม่พอใจ ฆ่าเขาละก็ ให้ภรรยาเล่าให้ลูกที่จะเกิดมาฟัง เพื่อจะได้แก้แค้น

ในที่สุดก็อนเจียงก็ถูกประหารจริงๆ เมื่อลูกชายเขาเกิดมา ชื่อว่า ฉักพี่ พอโตแล้วก็ได้รู้เรื่องที่พ่อเขาถูกประหาร จึงไปหาดาบที่ซ่อนไว้ เพื่อแก้แค้น พอดีผู้ครองรัฐก็ฝันว่า ลูกชายก็อนเจียงจะมาแก้แค้น จึงประกาศจับ ฉักพี่ ว่าถ้าใครเอาหัวของ ฉักพี่มาได้ จะให้รางวัล 1000 ชั่ง ฉักพี่ได้ข่าว ก็หนีเข้าป่าไป เพื่อฝึกปรือฝีมือ เพราะว่าฝีมือยังไม่เก่ง ระหว่างที่เดินทางเข้าป่า ก็น้ำตาตก พอดีมีคนที่มีฝีมือเรื่องใช้ดาบคนหนึ่งผ่านมาเจอ ฉักพี่ จึงถามว่าเป็นอะไรมา ฉักพี่ก็เล่าให้ฟังทั้งหมด ชายคนนั้นก็บอกว่า งั้นเอาหัวของท่าน กับดาบมาให้เขา เพื่อไปรับรางวัล และมีโอกาสเข้าใกล้ผู้ครองรัฐนั้น เพื่อแก้แค้นแทน ฉักพี่ ได้ยินดังนั้น ก็ใช้ดาบตัดหัวตัวเอง แล้วนำให้กับชายคนนั้น นักดาบคนนั้นก็รับปากว่าจะแก้แค้นให้สำเร็จ ฉักพี่จึงล้มลงตาย

เมื่อคนนักดาบคนนั้นไปเข้าเฝ้าผู้ครองรัฐนั้น ก็เอาหัวของฉักพี่ไปมอบให้ บอกว่า นี่เป็น ศรีษะของฉักพี่ ซึ่งเป็นผู้กล้าคนหนึ่ง จะต้องให้เกียรติเขา โดยต้องต้มให้เปื่อยก่อนนำไปฝัง (ซึ่งเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่ง) แต่ต้มสามวันสามคืนก็ยังไม่เปื่อย แถมยังกระเด็นขึ้นมาจ้องมองเจ้าผู้ครองรัฐนั้น นักดาบนั้นจึงพูดว่า ขอเชิญเจ้าผู้ครองรัฐนั้นเข้าไปใกล้ๆแล้วจ้องมองดู เพื่อทำให้เปื่อย พอเดินเข้าไป นักดาบก็เดินตามเข้าไป แล้วก็ชักดาบฟันหัวเจ้าผู้ครองรัฐนั้นตกลงไปในหม้อ หลังจากนั้น ก็ตัดหัวของตัวเองตกลงหม้อตามไปด้วย ปนกันจนไม่รู้ว่าหัวใครเป็นของใคร  แล้วเอาไปฝังรวมกัน คนทั่วไปจึงเรียกกันว่า สุสานสามกษัตริย์ 
 

ตำแหน่งที่ตั้ง: 
รายละเอียดตำแหน่งที่ตั้ง: 

99/7 พระปิ่นเกล้า บางกอกน้อย กรุงเทพมหานครฯ