การแสดงแสกเต้นสาก

สรุป: 
ประเพณีแสกเต้นสาก เป็นประเพณีที่มีการสืบทอดกันมานาน แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาวแสก ตามปกติใช้รำเพื่อบวงสรวงเจ้าที่หรือศาลเจ้าในวันสังเวยผี
รายละเอียด: 

การแสดงแสกเต้นสาก นอกเหนือจากการบวงสรวงเจ้าที่หรือผีแล้ว บรรพบุรุษชาวแสกต้องการให้กลุ่มชาติพันธุ์มีความสามัคคี จึงจัดการละเล่นขึ้นเป็นการผูกสัมพันธ์ในหมู่คณะ ในปัจจุบันจะมีผู้หญิง 10 คู่ นั่งหันหน้าเรียงกันเป็นแถว โดยถือไม้สากตีเป็นจังหวะ ส่วนผู้เต้นในปัจจุบันเปลี่ยนจากเดิมเป็นหญิงล้วน เป็นชาย-หญิงจับคู่เต้นตามโอกาสและความเหมาะสม เพลงที่ร้องในปัจจุบันเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ส่วนเสื้อผ้าที่ชาวไทแสกในปัจจุบันใช้แต่งเมื่อแสดงแสกเต้นสากเป็นเสื้อผ้าของชาติพันธุ์แสกดั้งเดิมที่มีความคลายคลึงกับเสื้อผ้าชาวผู้ไท

ตำแหน่งที่ตั้ง: 
รายละเอียดตำแหน่งที่ตั้ง: 

วัดโอภาสวิทยาราม ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม 48180